วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัติอำเภอสวี


ประวัติอำเภอสวี

ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวถึง บ้านปากแพรกตั้งอยู่ที่ริมคลองสวีทางทิศตะวันออก บ้านป่าแพรกนี้มีผู้เฒ่าแก่เล่ากันว่าในสมัยโบราณต้นกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเคยเป็นที่ตั้งชื่อเมืองมาแล้วครั้งหนึ่งชื่อเมืองแพรก เพราะมีการขุดค้นไถพรวนดินพื้นที่บริเวณนั้นพบหลักฐานเป็นพวกกระเบื้องดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ที่ฝังอยู่ในดินจำนวนมากหรืออาจเป็นไปได้ว่าเมืองสวีตั้งอยู่บริเวณนี้ สวีเป็นเมืองเก่าตั้งแต่โบราณเมืองหนึ่งในจังหวัดชุมพร ตามประวัติศาสตร์อำเภอนี้ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย เมืองสวีตั้งอยู่ริมคลองสวีในพงสาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ตามคำให้การของชาวกรุงเก่า พ. ศ. 2310 บัญชีหัวเมืองปักษ์ใต้ซึ่งขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาลำดับที่ 48 เมืองสวี มีหน้าที่ส่งส่วยพลอยแก่กรุงศรีอยุธยา ในระหว่าง พ. ศ. 2319 ถึง พ. ศ. 2327 เจ้าขัณฑสีมา ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชแต่งตั้งพระสวีแก้ว ดำรงตำแหล่งผู้ว่าราชการเมืองสวีแทนพระสวีบุญมีถึงแก่กรรม พระวีกลัดบุตรคนที่ 2 ของพระสวีแก้ว เป็นผู้ว่าราชการแทน พระสวีกลัดถึงแก่กรรม พระเพ็ชรคีรีสงคราม (ยัง) ถึงแก่กรรม หลวงภักดีสงคราม (นิ่ม) บุตรคนที่ 2 ของพระเพ็ชรคีรีสงครามผู้ช่วยเป็นผู้รักษาราชการตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสวี ในสมัยที่หลวงภักดีสงคราม (ท่ารักษาเมืองตามที่ชาวบ้านเรียกขาน) รักษาราชการผู้ว่าราชการผู้ว่าราชการเมืองสวี พ. ศ. 2439 ถูกยุบเป็นอำเภอตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยถึงราชเลขานุการที่ 1093 / 1217 ลงวันที่ 15 ธันวาคม ร.ศ. 115 ที่ทำการครั้งแรกตั้งอยู่ ณ บ้านขุนคลังสมบัติพิบูล (ขุนคลัง รื่น ตามที่ชาวบ้านเรียกขาน) บุตรเขยหลวงภักดีสงคราม ต่อมาปี พ. ศ. 2440 (ร. ศ.116) มีหลักฐานปรากฎชัดเจน เมื่อมีการจัดการปกครองหัวเมืองใหม่ ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร. ศ. 116 เมืองสวีได้ถูกจัดระเบียบการปกครองเป็นอำเภอมีชื่อว่า อำเภอสวี โดยมีหลวงเสวีวรราช เป็นนายอำเภอจึงปรากฏหลักฐานของอำเภอว่า หลวงเสวีวรราช (แดง ธนะไชย) เป็นเมืองสวีจึงสิ้นสุดลง คาว่า สวี เป็นชื่อเมืองมาแต่โบราณ ไม่มีหลักฐานว่ามีความหมายว่าอะไรเมื่อค้นดูตามภูมิศาสตร์ มีคลองสวีอยู่ 1 คลอง และตำบลสวีอยู่หนึ่งตำบล ซึ่งน่าเชื่อว่า คำว่า สวี ได้ชื่อมาจากคลองสวีโดยตั้งตามนามเมืองให้ตรงกับนามของหลวง สืบตามประวัติศาสตร์ของสวีเล่ากันต่อ ๆ มา ได้ความว่า คลองสวีนี้มีต้นน้ำจากเขาทะลุ ตำบลเขาทะลุ ณ ที่ต้นน้ำมีหินก้อนใหญ่รูปร่างคล้ายมีลักษณะคล้ายผู้หญิง จึงเชื่อกันว่าเดิมได้แต่งตั้งคลองนี้ว่า ฉวี ซึ่งหมายถึง ความสวยงาม คล้ายกับว่าคลองนี้เกิดข้นเพราะผู้หญิง คือ หินก้อนใหญ่ดังที่กล่าวแล้ว และผู้หญิงที่อยู่ในถิ่นนี้เป็นที่ยกย่องกันว่ารูปร่างสวยงาม
คำขวัญอำเภอสวี
พระธาตุเก่าแก่ กาแฟปลูกนำ ระกำหวานดี นารีสวยสด สับปะรดหวานกรอบ
ตั้งและอาณาเขตที่
อำเภอสวีตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองชุมพร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน และอำเภอละอุ่น (จังหวัดระนอง)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอละอุ่นและอำเภอกระบุรี (จังหวัดระนอง)
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอสวีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 114 หมู่บ้าน ได้แก่
1. นาโพธิ์ (Napho) มี 8 หมู่
2. สวี (sawi) มี 4 หมู่
3. ทุ่งระยะ (Thung Raya) มี 11 หมู่
4. ท่าหิน (Tha Hin) มี 10 หมู่
5. ปากแพรก (Pak Phraek) มี 6 หมู่
6. ด่านสวี (Dan Sawi) มี11 หมู่
7. ครน (Khron) มี14 หมู่
8. วิสัยใต้ (Wisai Tai) มี 10หมู่
9. นาสัก (Na Sak) มี17 หมู่
10. เขาทะลุ (Khao Thalu) มี11 หมู่
11. เขาค่าย (Khao Khai) มี12 หมู่
การปกครองส่วนท้องถิ้น
ท้องที่อำเภอสวีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
1. เทศบาลตำบลนาโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาโพธิ์
2. องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโพธิ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลนาโพธิ์)
3. องค์การบริหารส่วนตำบลสวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวีและตำบลปากแพรกทั้งตำบล
4. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งระยะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งระยะทั้งตำบล
5. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหินทั้งตำบล
6. องค์การบริหารส่วนตำบลด่านสวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านสวีทั้งตำบล
7. องค์การบริหารส่วนตำบลครน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลครนทั้งตำบล
8. องค์การบริหารส่วนตำบลวิสัยใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวิสัยใต้ทั้งตำบล
9. องค์การบริหารส่วนตำบลนาสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาสักทั้งตำบล
10. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทะลุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาทะลุทั้งตำบล
11. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค่าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาค่ายทั้งตำบล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น